พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ – หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต

ประวัติ
หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
วัดอริยวงศาราม (หนองน้ำขาว)
บ้านหนองน้ำขาว ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
———————————————————–

“พวกเธอจงจำไว้ พระป่านั้น เขามีคติอยู่ว่า ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรมและทำงานเพื่องาน
พระป่าโดยสายเลือดและวิญญาณเขามุ่งปฏิบัติมาทุกยุคทุกสมัย
พระป่าหาใช่เพียงกิน ถ่าย นอน และนั่งหลับตาโดยมิได้ทำอะไรเลย
พระป่าอาจโง่ในสายตาของผู้ที่เขาไม่ได้ “ปฏิบัติ” นั่งหลับตาศึกษาสัจธรรม
พระป่าในเมืองไทยนี้นับแต่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น พระบุพพาจารย์เจ้าเหล่านี้ล้วนแต่เรียนรู้คำสั่งสอนของพระศาสดาด้วยการ ปฏิบัติด้วยกันทั้งสิ้นและท่านก็สามารถรู้แจ้งในสัจธรรม จนสามารถยังประโยชน์ตนและผู้อื่นได้ พวกเธอจงจำไว้”

ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต พื้นเพถิ่นกำเนิดของท่านอยู่ในจังหวัดนครปฐม ท่านเคยได้สมาธิตั้งแต่อายุ ๘-๙ ขวบเท่านั้น เพราะผู้หลักผู้ใหญ่คนพื้นบ้าน เขาชอบนั่งสมาธิไปดูนรก-สวรรค์กัน ในยุคที่ท่านยังเป็นเด็กนั้น ชาวบ้านนิยมกันว่า “ถ้าบุตรในตระกูลใด ได้บวชแล้วเที่ยวออกธุดงค์รุกขมูลไปในที่ต่าง ๆ จะได้รับการยกย่องนับถือในหมู่ชนต่าง ๆ”

ดังนั้น ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสัมประทวน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์
รสชาติของสมาธินั้น ยังตรึงจิตใจอยู่เสมอ ท่านได้ออกติดตามพระธุดงค์ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปี ท่านได้ไปมาเกือบทั่วประเทศไทยตลอดจนถึงมาเลเซีย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น

อายุของท่านครบอุปสมบทก็ได้มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดท่าตำหนัก เป็นวัดฝ่ายธรรมยุต โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพเจติยาจารย์ วัดเสน่หา เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต หรือท่านพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ ท่านเคยดั้นด้นธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร จากภาคใต้มาถึงกรุงเทพ จากกรุงเทพไปถึงแม่ฮ่องสอน จากแม่ฮ่องสอนไปภาคอีสาน ก็ได้อาศัยเท้าทั้งสองเท่านั้น เดินเพื่อค้นคว้าหาความจริงในธรรมะ และความอดทนอันยอดเยี่ยม
ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วประเทศ
อันธรรมะที่ท่านเคยประพฤติปฏิบัติมานั้น ท่านได้นำมาถ่ายทอดแก่สาธุชนผู้ใคร่ในธรรมจนหมดสิ้น ลีลาการแสดงธรรมะของท่าน ท่านเฟ้นหาสาระเนื้อหาอันจับใจแก่ผู้ฟังธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ท่านเป็นกำลังสำคัญ ในกองทัพธรรม สายหลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง ที่ได้เที่ยวเผยแพร่หลักธรรมความเป็นจริงขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความดีงามของท่านนี้ ทำให้ชาวบ้านในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคกลางและภาคใต้ ต่างก็ได้ร่วมกันช่วยสร้างสำนักสงฆ์อันเป็นสาขาได้ ๒๐ กว่าแห่ง
ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต แสดงให้เห็นถึงความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้าในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

นอกจากนี้แล้วท่านเคยเล่าว่า…”เคยแอบมากรุงเทพฯ เหมือนกัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรฯ วัดราชาฯ วัดราชบพิธฯ วัดมกุฎฯ เมื่อเรียนแล้วก็หนีเข้าป่าฝึกสมาธิภาวนาต่อไป

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เล่าเรื่องการออกเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติภาคใต้ว่า…
“เมื่อได้ถวายเพลิงศพท่านอาจารย์มั่นแล้ว ก็มีความประสงค์จะเที่ยววิเวกทางภาคใต้ จึงพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หลายองค์ มีพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต เป็นผู้ติดตามไปด้วย ไปพักที่วัดควนมีด จ.สงขลา และได้ออกหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม จึงเดินทางต่อไปจนถึงจังหวัดพังงา รู้สึกอากาศถูกกับธาตุขันธ์อยู่มาก”

ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้เล่าความเป็นมาทางภาคใต้ให้หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ฟังว่า
“กระผมได้เคยผจญภัยมาแล้ว ณ เมืองภูเก็ต พังงา สองแห่งนี้ ก็ได้รบกับความเดือดร้อนต่าง ๆ อย่างมากมาย ด้วยคณะพระธรรมยุตนิกาย ไม่เคยมีเลยในครั้งนั้นจึงได้พาคณะพรรคพวกกลับมาเผชิญเหตุการณ์ร้าย ๆ นี้อีก
กระผมดีใจที่ท่านพระอาจารย์มาเป็นประธาน ในการเดินทางในครั้งนี้ แม้จะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงน่ารังเกียจ อันผิดวิสัยของสมณะ! ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเพศเดียวกันคอยกลั่นแกล้งทั้ง ๆ ที่นุ่งห่มสีเดียวกัน น่าละอาย

เมื่อท่านอาจารย์มาเป็นประธานในการเผยแพร่ธรรมะ กระผมก็มีความหวังดีต่อพระพุทธศาสนา ขอร่วมด้วย เพื่อเป็นการช่วยกันฟื้นฟูธรรมปฏิบัติในเขตสองจังหวัดนี้ เป็นการดียิ่ง”
การที่คณะเผยแพร่ธรรมะโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เป็นผู้นำแห่งกองทัพธรรม และมีท่านพระมหาอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้เข้าช่วยเหลือเผยแพร่ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าสู่จิตใจ ประชาชนได้เป็นอันมาก

ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้ถูกกำหนดให้ไปอยู่จำพรรษาที่กระโสม โดยมีพระคณะละ ๑๖ องค์ ตลอดเวลา ได้ถูกพวกที่ไร้คุณธรรมบุกรบกวน เช่น เผากุฏิ เอาก้อนหินขว้างปาขณะออกเดินบิณฑบาต ลอบวางยาพิษ ต้องผจญกับความทุกข์ยากแสนสาหัส
แต่ก็ได้รับการเตือนสติจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ให้พยายามรักษาศีลบริสุทธิ์ อย่าทิ้งสติการภาวนา พิจารณาให้เป็นธรรมอย่าเผลอสติ นับเป็นความอดทนเป็นที่ยิ่ง

ในชีวิตของพระสุปฏิบัติเช่นท่าน คือ…ท่านพระมหาอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านรักในความสันโดษวิเวกท่ามกลางป่าเขา
ชีวิตธุดงคกรรมฐานของท่าน ได้เดินทางมาไกลแสนไกลบุกป่าฝ่าดง ปีนป่ายภูเขาลูกแล้วลูกเล่า จากลูกนี้สู่ลูกโน้น และในที่สุดท่านก็มาหยุด ณ ภูเขาลูกหนึ่ง รำพึงอยู่ที่เชิงเขา เป็น ภูเขาลูกย่อม มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในสถูปองค์น้อย ณ ที่นั้นเราจึงเรียกว่า “พระธาตุเขาน้อย” หรือ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย

ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านได้ก่อสร้างขึ้นเป็นวัดที่ถาวร เป็นเครื่องเตือนจิตเตือนใจให้ระลึกถึงท่านและพระธรรมคำสอนอยู่เสมอ
แม้ว่าบัดนี้ท่านพระอาจารย์ท่านได้ละสังขารจากพวกเราไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีนั้นหาได้เสื่อมสลายตามไปไม่ ท่านยังทิ้งรอย ให้พวกเราทั้งหลายได้ดำเนินชีวิตอันถูกต้อง ตามไปเบื้องหน้าตลอดกาลนาน และเป็นความสุขนิรันดรอย่างแท้จริง

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง

เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1838
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 5:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

teacher73.gif

หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
วัดอริยวงศาราม (หนองน้ำขาว)
บ้านหนองน้ำขาว ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง

เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1838
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน
สติปัฏฐานป่า
หลวงพ่อพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ (หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต)
เทศน์ที่วัดภาวนาภิรตาราม ตำบลบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๙

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

พื้นฐานขั้นต้นคือกายที่เราเรียกกันว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ให้พิจารณากาย สักแต่ว่าเป็นกาย ไม่ ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราใช่เขา นี่ตำรา ทีนี้ในวิธีปฏิบัติขอให้ท่านพุทธบริษัท จงเพ่งใจลงไปที่กายของท่าน อย่าไปหมายคำว่ากายเรา กายเขา อย่าไปหมายคำว่ากายสัตว์ กายคน กายตน กายเรา กายเขา แม้คำว่ากายก็อย่าไปหมาย เพราะว่าถ้าให้สัตว์เดรัจฉานมันมาเรียกมันจะเรียกกายหรือเรียกอะไรก็ไม่ทราบ กาย ของเรานี้ถ้าให้ชาติอื่นภาษาอื่นเขามาเรียก เขาจะเรียกกาย หรือเขาจะเรียกอะไรไม่ทราบ เพราะฉะนั้นเราจงเลิกคำว่า กายออกไป ทำความรู้ในใจเข้าไปที่วัตถุชิ้นหนึ่ง สัก แต่ว่าเป็นวัตถุก้อนหนึ่ง ไม่ได้มีชื่อเรียกตัวของมัน เองก็ไม่ได้ประกาศว่ามันชื่ออะไร เราไปใส่ชื่อมันเองว่าเป็นกายยิ่งแยกแยะออกไป เราไปใส่ชื่อมันว่า ผม ว่าขน ว่าเล็บ ว่าฟัน ว่าหนัง ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูกอะไร เป็นอาการ ๓๒ ความเป็นจริงตัวมันไม่รู้อะไรเลยว่ามัน ชื่อว่าผม มันชื่อว่าขน ชื่อว่าเล็บ ชื่อว่าฟัน ชื่อว่า หนัง มันก็ไม่รู้ว่าใจตัวนี้สมมติมัน มันเป็นสิ่งรอง รับสมมติ ตัวรองรับสมมติไม่ได้รู้ว่าตัวของตัวเป็น อะไร เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะเพ่งกายจงเลิกสมมติคำว่า กายเพ่งเข้าไปในส่วนในกายนี้จุดใดจุดหนึ่งแต่ไม่ให้ มันพ้นไปจากก้อนกายอันมียาววาหนาคืบอันนี้ เมื่อเรา เพ่งเข้าไปนั้น วิธีเพ่งนี้เป็นวิธีที่จะทำให้จิตเป็นเอ กัคคตารมณ์ คือ ทำให้จิตเป็นอารมณ์เดียว เรียกว่า อารัมณูปณิชฌาน ฌานที่เข้าไปทำให้จิตรวมอารมณ์

เมื่อเพ่งเข้าไปแล้วเอาสติระลึกอยู่จุดที่เพ่งนั้น ระลึกไปแล้วก็เอาตัวผู้รู้คือใจไปรู้อยู่ที่สตินั้น เมื่อสติระลึกอยู่ตรงไหนจงเอาใจ คือตัวผู้รู้ให้อยู่ ตรงสตินั้น ระลึกไปสติแปลว่า ระลึกได้ ระลึกไปแล้ว ก็รู้ตามไป ระลึกอยู่ในสิ่งๆหนึ่ง ในวัตถุก้อนหนึ่ง โดยไม่หมายว่ามันเป็นอะไรเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง คล้าย กับเราหาของเล่นให้เด็ก เด็กมันไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเขา เรียกว่าอะไรหรอก แต่มันก็พลิกไปพลิกมา ดูมันเพลิด เพลิน เล่นไปเพลิดเพลินไปได้ การเพ่งสติถ้าเอาสติเข้า ไปเพ่งที่กายนี้ พยายามเพ่งแล้วก็ระลึกไป รู้ไปที่เป้า นั้น ถ้าบังเอิญเมื่อเราน้อมจิตเพ่งเข้าไปรู้เช่นเอา กระดูกเป็นอารมณ์ แต่ก็ไม่ต้องหมายว่ากระดูกอีก เมื่อ เราระลึกอยู่ตรงที่วัตถุสิ่งหนึ่งนั้น ระลึกไปรู้ไป ถ้าสติมันย้ายไประลึกไปจุดอื่นแต่อยู่ในกาย สติมัน ย้ายไประลึกจุดอื่นเอาใจตัวรู้นี้ตามสติไป เอารู้ที่ไป อยู่ที่สติที่ระลึกนั้นให้ตัวรู้กับตัวระลึกอยู่ด้วย กัน ถ้าบังเอิญตัวรู้ตัวนี้มันย้ายที่ เราเพ่งส่วนบน มันไปรู้ส่วนล่างก็ย้ายสติเข้าไปตามตัวรู้ แปลว่าตัว ผู้รู้ตัวนั้นมันย้ายที่ก่อนก็เอาสติตามผู้รู้ไป ไประ ลึกอยู่ตรงที่มันชอบรู้ตัวนั้น ถ้าหากว่าตัวสติมัน แลบไปก่อน ก็เอาตัวรู้นี่ย้ายตามสติ ถ้าหากตัวผู้รู้ มันแลบไปรู้ก่อนก็เอาสติตามตัวรู้ไปให้ไปรู้อยู่ตรง ที่จุดที่ใจมันชอบรู้ ชอบนึก ชอบคิดอยู่ตรงนั้น

คำว่าใจคือตัวผู้นึกผู้คิด เอาความนึกความคิดนี้ ระลึกไปนึกคิดไปในวัตถุสิ่งนั้นจะนึกคิดว่ามันเป็น สิ่งๆหนึ่ง โดยไม่ต้องไปใช้ปัญญาพิจารณาเลยว่ามัน เป็นสิ่งๆ หนึ่งโดยไม่ต้องไปใช้ปัญญาพิจารณาเลยว่า มันเป็นอะไรมีลักษณะรูปร่างสีสัณฐานอย่างไรก็ไม่ต้อง ทั้งนั้น ไม่ต้องไปคำนึงถึงสีมันทีเรียกว่า วัณโณ ไม่ ต้องคำนึงถึงกลิ่นของมัน ไม่ต้องคำนึงถึงรสของมัน ไม่ต้องคำนึงถึงความซึบซาบใดๆ ของมัน เป็นแต่ว่าเอา ตัวผู้รู้นี้ไปรู้ไว้ที่ตัววัตถุสิ่งหนึ่ง ที่เรียกว่าเพ่ง ไว้กับวัตถุสิ่งหนึ่ง เพ่งสิ่งไปในกายของเรา เพ่งไว้ สิ่งหนึ่งแล้วก็ระลึกอยู่กับสิ่งๆ หนึ่งระลึกไปรู้ไป ระลึกไปรู้ไป อาศัยเวลาอยู่บ้างเมื่อเราระลึกนานเข้าๆ ตัวรู้กับตัวระลึกตัวนี้กับตัวเป้าที่เพ่งมันจะเด่น ขึ้น ชัดขึ้นๆ จนวางอารมณ์อื่นๆทั้งหมด มันวางของ มันเอง มีตัวเป้าที่เพ่งกับสติกับตัวผู้รู้เท่านั้นเด่น อยู่ในดวงใจ เด่นชัดขึ้น จิตกำลังเป็นเอกัคคตารมณ์คือ กำลังมีอารมณ์เดียวยิ่งเพ่งนานเข้าๆ เด่นชัดยิ่งขึ้นๆ จนไม่มีอะไรเลย มีแต่ตัวเป้าที่เพ่งกับสติกับตัวผู้รู้ ที่รู้ทันกับสติกลมกลืนกันไปเท่านั้น เป้าที่เพ่งนั้น ก็ไม่หายไปไหนสติก็กลมกลืนกันกับตัวรู้ รู้ไประลึก ไปๆ อยู่นั้นเด่นอยู่นานพอสมควรตัวเป้านิ่งนั้นนะ มันจะดับหายปั๊ป สติซึ่งอาศัยฐานตั้งอยู่ บนเป้า นั้นมันก็จะหายปั๊ป ตัวผู้รู้นี้จะม้วนตัวรวมปั๊ป เข้าไป รวมเข้าไปเป็นเอกัคคตาจิต ไปเป็นจิตเดียวคล้าย ความหลับแต่ไม่ใช่หลับ เพราะมันรู้อยู่ว่ามันเป็น แบบคล้ายๆหลับ แต่ไม่ใช่หลับมันเป็นอยู่แบบหนึ่ง มันรู้ตัวของมันอยู่

ถ้าเพ่งใหม่ๆ การเพ่งยังไม่เพียงพอ เป้าที่เพ่งนั้น หายก่อนสติหายไปก่อน ใจส่งไปรู้เรื่องอื่นนั้นยังอ่อน ยังไม่พอเพ่งยังไม่พอ ถ้าเพ่งอย่างนั้นต้องน้อมเอา มาเพ่งใหม่ เพ่งจนเป้านิ่งที่เพ่งนั้นเด่นชัด ชัดเด่น ที่สุดไม่มีอะไรเลยมีแต่เป้ากับสติกับตัวรู้ที่มันรู้ กันกับเป้านิ่งนั้นเด่น ชัดเด่นอย่างเดียวหมดทั้งโลก ไม่มีอะไร นอกจากเป้านิ่งกับตัวสติกับตัวผู้รู้ แล้ว ได้สัดได้ส่วน ถ้าสติมันถี่เกินแล้ว เวลาเพ่งพอเรา ปล่อยปั๊ป เป้านิ่งหายปั๊ปสติหายปั๊ปจิตรวมปั๊ปสติ ที่ถี่เกินต้องวัดด้วยวิธีลองผ่อนดูถ้าหากลองผ่อนแล้ว มันไปอื่นนั่นยังเพ่งยังไม่พอ ต้องเพ่งให้พอ จนกว่า เป้านิ่งมันจะเด่นอยู่กับตัวสติกับตัวผู้รู้ เท่านั้น เด่นชัดยิ่งขึ้นๆ ไม่มีอารมณ์อะไรอื่นเลยมีอารมณ์เดียว มีเป้านิ่งกับสติตัวผู้รู้เท่านั้น รวมกลมกลืนกันเป็น อารมณ์เดียว ได้เวลาพอสมควรมันจะรวมปั๊ปเมื่อรวมปั๊ป เข้าไปรวมใหม่ๆ ไม่นาน แล้วมันจะถอนออกมาถ้าพอถอน ออกมามันติดอยู่กับอะไร ใจรีบคล้ายหลับแล้วตื่น ตื่น ขึ้นมาคือจิตมันรวมแล้ว มันตื่นขึ้นมาจับอะไรเป็น อารมณ์ เพ่งอารมณ์นั้นที่ถอนปั๊บขึ้นมานั่นมาติด ยึดอารมณ์อะไรก่อน เอาสติจับอารมณ์นั้นเป็นเป้าระ ลึก เอาผู้รู้เข้าไปรู้เป้านั้นเป็นเป้าเพ่งกันต่อไปฯ

เมื่อเราเพ่งเรารู้และเราระลึกอยู่ เดี๋ยวเดียว เป้า แรกที่จิตถอนขึ้นมารู้นั้นดับปั๊บ สติดับปั๊บ จิต รวมปั๊บรวมไปคราวนี้จะนานขึ้น ทีนี้มันถอนขึ้นมาอีก แรกมันถอนขึ้นมาจับอะไรเป็นอารมณ์ก่อน ก็เอาตัวรู้ เข้าไปรู้ที่เป้านั้น ที่มันจับนั้น เอาสติไประลึกอยู่ ที่เป้าที่ตัวผู้รู้มันรู้ก่อนยึดก่อนนั่นแหละเอาสติ ไปรวมไว้ที่นั้นเพ่งเป้านั้น แล้วเดี๋ยวเป้านั้นก็จะ หายปั๊บ จิตม้วนตัวรวมปั๊บรวมหลายๆ ครั้ง มันจะรวม ลงไปได้ตั้งอยู่ได้นานถึง ๓ ชั่วโมง นี่เป็นวิธีที่หนึ่ง ที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การที่เข้าไปรวม เข้าไปพักอยู่เวลาขนาดชั่วโมงหรือ๒ชั่วโมงนี้ เวลาถอน ขึ้นมาเราจงพิจารณากายหรือพิจารณาสิ่งที่มันมีอยู่ใน จิต นั่นแหละมันมีอะไรมากระทบจิตแล้ว อารมณ์ของใจ มันจะเปลี่ยนอารมณ์แบบเดิมที่เราเคยเป็นอยู่แบบโลกๆ มันจะมีแต่อารมณ์สลด สังเวช เกิดอารมณ์กระทบตาก็ตาม กระทบหู กระทบจมูก กระทบลิ้น กระทบกายหรืออารมณ์ ใดมากระทบใจ มันจะมีความสลดสังเวช เห็นความแปรปรวน เห็นความไม่ยั่งยืน เห็นความไม่มีตัวมีตน หาความเป็น แก่นสารสาระอะไรไม่ได้

ตอนนี้จิตมันเริ่มเป็น วิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่า ลักขณูปฌิชญาน ถอนจากรวมแล้วมันจะเริ่มเพ่งพิจารณาคิดค้นเป็นเรื่องของปัญญาไป ปัญญาที่จิตรวมแล้ว นั้นถอนขึ้นมาจากจิตรวมแล้วเป็นปัญญาญาณ ถ้าเพ่ง พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจะเป็นไตรลักษณญ าณไม่ใช่จิตธรรมดามันเป็นญาณ เพราะความรู้ที่รู้ขึ้น มาหลังจากความสงบนั้นเป็นความรู้ชนิดที่เรียกว่า ญาณ มันรู้เฉพาะๆ ในวงแคบๆ และก็รู้ชัดถึงจิตถึงใจรู้ซาบซ่านแน่นซึ้งเข้าไปในจิตในใจ ความรู้ที่หลังจากมัน รวมเข้าไปแล้วเป็นความรู้ที่มันรู้พร้อม รู้ทั่ว รู้ ชัด รู้เด่น รู้แจ้ง รู้จริงชัดจริงๆ จึงเรียกว่า เป็น ตัววิปัสสนาญาณ เริ่มเป็นวิปัสสนา ลักษณะที่อธิบาย มาให้ฟังตั้งแต่ต้นจนถึงขณะนี้ ขั้นต้นที่เพ่งนั้น ต้องการให้จิตมันรวมไปเป็นเอกัคคตารมณ์ พอรวมเข้า ไปแล้วนั้นเป็นเอกัคคตาจิต เป็นจิตเดียว เมื่อถอนขึ้น มาเพ่งพิจารณามันเริ่มเดินเข้าไปหาธรรมที่จะสรุปธรรม ทั้งหลายลงไปเป็นธรรมเดียว เป็นขั้นเริ่มต้นของการ เดินเข้าหาสายของธรรม คลองของธรรมที่จะลงไปหาความ เป็นธรรมเดียวนี่เป็นวิธีที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน จำไว้เป็นวิธีการที่หนึ่ง

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง

เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1838
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2007, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน
สติปัฏฐานป่า
หลวงพ่อพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ (หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต)
เทศน์ที่วัดภาวนาภิรตาราม ตำบลบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๙

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

วิธีการที่ ๒ ขอให้ท่านผู้ฟังเลื่อนจิตตามมาด้วย จงเพ่งลงตรงเวทนาที่ปรากฏในกาย จะเป็นอะไรเวทนาอะไร ทุกข์ตามแข้ง ตามแขน ตามขา หรือว่าปรากฏยุง ริ้นไร กัดต่อย หรือว่าปวดหรือเมื่อยจงเอาตัวรู้ตัวนี้ เข้าไปรู้ตรงจุดนั้น รู้ตรงตัวที่สมมติว่ามันตัวเวทนานั้น แต่ตัวมันก็ไม่รู้ว่ามันเป็นตัวเวทนามันเป็นอาการของ กายอันหนึ่งและมันเป็นอาการของจิตอันหนึ่ง มันเป็น ทั้งอาการของกายและจิต เพราะเรามานั่งตั้งกายตรงดำรง สติมั่นฉะนี้ มันย่อมมีเวทนาปรากฏในตัวของใครของมัน เวทนานี้เราจะเอาตัวปรากฏสุขเป็นอารมณ์ก็ได้ปรากฏว่า มันเป็นทุกข์เป็นอารมณ์ก็ได้หรือเฉยๆ เป็นอารมณ์ก็ ได้ แต่ไม่ต้องไปใส่คำว่าเวทนา เพ่งลงว่ามันเป็นปฏิกิริยาอันหนึ่งที่ปรากฏในกาย เอาสติระลึกอยู่ตรงที่เป็น ปฏิกิริยาตัวนั้น โดยไม่ต้องหมายว่ามันเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข เป็นเราเป็นเขา เป็นตัวเป็นตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเพียงอาการของปฏิกิริยาอันหนึ่งที่ ปรากฏขึ้นในกายนี้ เพ่งอยู่ที่นั่นระลึกอยู่ที่นั่นรู้ อยู่ที่นั่น ถ้าหากว่าบังเอิญมันมีการเจ็บ การปวดหลาย จุด สติมันชอบไประลึกอยู่จุดใด เอาตัวผู้รู้นี้ตาม ไประลึกไปรับรู้ที่สติมันชอบระลึก

ถ้าหากว่าตัวรู้มันคอยจะแยกกับสติ มันจะวิ่งไป รู้อีกจุดหนึ่งแต่สติไม่ไปด้วย ก็เอาสติวิ่งตามตัวรู้ ไป ไประลึกอยู่ตามที่ตัวรู้มันรู้นั้น แปลว่าแบบที่ อธิบายมาแล้วสติ สติไปอยู่ไหนให้ตัวรู้ตามไปอยู่ ที่นั่น ตัวรู้ไปที่ไหนต้องให้สติตามไปอยู่ที่นั่น แต่นี่เพ่งเข้าไปในอาการซึ่งเป็นปฏิกิริยาอันหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นในกาย เพ่งไประลึกไป รู้ไปเพ่งไป เพ่งไป ระลึกไปรู้ไป นานเข้าอาการนั้นจะเด่นสติมีอาการนั้น เป็นอารมณ์ เมื่อสติมีอาการนั้นเป็นอารมณ์ ใจก็จะรู้ แต่อาการนั้นเป็นอารมณ์เด่นอยู่ในดวงจิต ไม่มีเรื่อง อื่นเลย มีแต่อาการนั้นกับสติกับตัวรู้ที่รู้กลมกลืน กัน ทำความยินดีอยู่จุดนั้น ระลึกไปรู้ไประลึกไปรู้ ไป ตัวอาการอันหนึ่งที่มันเป็นปฏิกิริยาเกิดขึ้นใน กาย เมื่อนานเพียงพอจิตเริ่มรวมอารมณ์ เป็นเอการมณ์ หรือเอกัคคตารมณ์นานเด่นชัด ยิ่งขึ้นๆ แล้วเป้านั้น หายปั๊บ สติที่อาศัยเป้านั้นเป็นฐานที่ตั้งสตินั้นก็ จะหายปั๊บ จิตก็จะม้วนตัวรวมปุ๊บ นั่นจิตไปเป็น เอกัคคตาจิต ใหม่ๆ มันอยู่ไม่ได้นานมันจะถอนขึ้น เมื่อมันถอนขึ้นก็มาจับเป้านั้นอีก เป้าของอาการที่มี ปฏิกิริยาอันหนึ่ง ซึ่งเป็นอาการนอกกาย อาการของ จิตนั้น ระลึกอยู่ที่นั้นรู้อยู่ที่นั้นจนเด่นชัดอีก เด่นเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์เดียว เด่นชัดเดี๋ยว เป้านั้นก็จะดับปั๊บ สติหายปั๊บจิตรวมปุ๊บ เข้าไปอีก ไปเป็นเอกัคคตาจิต คล้ายหลับอีกเหมือนกัน คราวนี้จะ ได้นานขึ้น แต่มันไม่เหมือนหลับเพราะมันมีตัวรู้อยู่ รู้ตัวว่ามันเหมือนหลับ แล้วก็มีความเห็นมีความอิ่ม แต่มีความรู้อยู่และมีความนึกคิดอยู่ นึกคิดอยู่แต่มี อะไรๆ บังคับอยู่เหมือนนกอยู่ในกรง

ถ้ามันถอนขึ้นมาก็เพ่งอย่างเก่าอีก เพ่งปฏิกิริยาอันที่มาปรากฏขึ้นเป็นอาการของจิต อาการของกาย นั้น ระลึกอยู่ตรงจุดนั้นอีก ไม่นานเด่นจนเป็น อารมณ์เดียว เป็นเอการมณ์แล้วเด่นชัดเหมือนเราลืมตา มองดู แล้วมันจะรวมเป้านั้นก็จะดับหายอีก สติหายอีก จิตม้วนตัวรวมอีกรวมไปพักได้เต็มที่ ๓ ชั่วโมง ถอน ขึ้นมาคราวนี้มันจะมองอะไรๆ เป็นความแปรปรวนความ ไม่ยั่งยืนความไม่มีตัวเป็นตัวที่มีแต่ตัวอื่นอยู่ตัว หนึ่ง แล้วก็มีความแปรปรวนให้เห็นอยู่ มีความไม่อยู่ ในอำนาจบังคับบัญชาให้เห็นอยู่ชัดเด่นเริ่มเดินเข้า หารู้เอกัคคตาธรรม ที่แปลว่าธรรมเดียว นี่เริ่มเป็นวิปัสสนาญาณ

การพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในที่นั้น มัน เริ่มเป็นไตรลักษณญาณ เพราะมันเกิดจากจิตที่รวมเข้า ไปแล้ว จึงไปเกิดความรู้ขึ้นในจิตที่รวมเป็นเอกัคคตา จิตนั้นเอาจิตที่เป็นจิตเดียวนั้นมาเพ่งพิจารณา จิต นั้นจึงกลายเป็นไตรลักษณญาณไป เดิมเรียกว่า ไตรลักษณ์ คราวนี้เป็นไตรลักษณญาณ วิปัสสนาตอนนี้ ก็เป็นวิปัสสนาญาณแต่ก่อนเป็นวิปัสสนา ตอนนี้เป็น วิปัสสนาญาณ นี้เป็นวิธีการที่เรียกว่า “เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เป็นวิธีการที่ ๒ ที่ท่านพุทธบริษัท ควรจะกำหนดเอาไว้ สนใจทำให้มากเข้า ภาวิตา ทำให้มี ให้เป็น พาหุลีกตา ทำให้มากเข้า ทำบ่อยๆ เมื่อภาวนา ยิ่งๆ ขึ้น คือเพ่งยิ่งขึ้นกระทำมากขึ้นๆนั้น อภิญญ ายะ นิพพานายะ สัมโพธายะ สังวัตตติ จะเป็นไปเพื่อ ความรู้ยิ่งรู้พร้อมเฉพาะๆ ในจิตแล้วจะเกิดความเบื่อ หน่าย คำนี้จะรวมเป็นคำเดียวเป็นเอกัคคตาธรรมได้ด้วย ขณะจิตเดียว แล้วจะมีอาการแปลกประหลาดอัศจรรย์ แต่ ขอให้กระทำให้มากเจริญให้มากนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ป้ายกำกับ:

ใส่ความเห็น